วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555


                                                                             มะยม

  
กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน
มะยม
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Phyllanthus acidus  (L.) Skeels
ชื่อสามัญ :   Star Gooseberry
วงศ์ :   Euphorbiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  ใบตัวผู้ ผลตัวเมีย รากตัวผู้
สรรพคุณ 
:
  • บตัวผู้  -   แก้พิษคัน แก้พิษไข้หัว เหือด หัด สุกใส ดำแดง ปรุงในยาเขียว และใช้เป็นอาหารได้
  • ผลตัวเมีย  - ใช้เป็นอาหารรับประทาน
  • รากตัวผู้  -  แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง
วิธีและปริมาณที่ใช้ ใช้ใบตัวผู้ หรือรากตัวผู้ ต้มน้ำดื่ม
สารเคมี

ลักษณะทั่วไป

มะยมเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3–10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณ ปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบ สลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20–30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่อ อ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด

การปลูก

มะยมเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในที่ร่มรำไร ปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นพอเหมาะ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณทางยา

  • ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ
  • เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
  • ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
  • ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
  • ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง

คติความเชื่อ

ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง กล่าวว่ามะยมเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกัน ความถ่อย ถ้อยความ และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้ คนจะได้นิยมเหมือนมี นะเมตตามหานิยม

'ใบมะยม' ต้านเบาหวาน

ต้มดื่มลดน้ำตาล บำรุงตับ 
           สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานน้ำตาลในเลือดสูง วันนี้มีสูตรใบมะยมต้มใบเตยลดน้ำตาลในเลือดมาฝากกันซึ่งมีสรรพคุณทั้งต้านเบาหวานและบำรุงตับอ่อน

          วิธีทำ ใช้ใบมะยมสด และรากเตยสดหรือแห้งก็ได้ ต้มรวมกัน แล้วใช้น้ำมาดื่มกิน ถ้าไม่มีรากเตย ก็ใช้ใบมะยมอย่างเดียว (ใส่มะตูมแห้งแบบเป็นแผ่นเพิ่มได้) เมื่อกินใบมะยมระยะแรก จะกระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตน้ำตาลมากกว่าเดิมแต่ไม่เพลียไม่เหนื่อย ต่อไปเมื่อตับอ่อนแข็งแรงแล้ว ตับอ่อนจะทำงานของมันเองได้เต็มที่ โดยไม่ต้องพึ่งพาอินซูลินจากภายนอก แล้วตับอ่อนจะคุมน้ำตาลด้วยตัวของมันเองและใบมะยมจะกระตุ้นน้ำตาลให้ขึ้นไปเลี้ยงสมอง ถ้าต้มใบมะยม กินน้ำควรกินให้หมดภายในวันนั้น ก็จะได้โอสถสาร ต้มใบมะยมรวมกับรากใบเตยจะได้รากเตยมาช่วยฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง

         คนที่เป็นเบาหวานแต่อยากกินของหวาน ก็กินใบมะยมสด ๆ สัก 2-3 ก้าน (ก้านไม่ต้องกิน) ลงไปรองท้องก่อน เคี้ยวไม่ไหวก็ปั่นกินได้แล้วจึงกินของหวาน กากใยของใบมะยมจะช่วยดูดซับน้ำตาล ไม่ให้ดูดซึมเข้ากระแสเลือด และเมื่อกินของหวานแล้วก็กินน้ำสำรองตาม เพื่ออมกากใยไว้รอการขับถ่าย (ใบมะยมใช้กินสด ๆ จิ้มน้ำพริกได้แกงเรียงใส่ใบมะยมได้)

การขยายพันธุ์ :

การตอน เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด จากการทดลองตอนต้นขนาดใหญ่อายุประมาณ 10 ปียังสามารถออกรากได้ และออกดอก ติดผลได้ในปีแรกหลังการปลูกกิ่งตอน

การเพาะเมล็ด เป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย แต่ต้องใช้เวลาในการให้ผลผลิตยาวนานกว่าการตอน

ข้อดีของพันธุ์ไม้ :
เป็นผลไม้ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายทาง เช่น การรับประทานผลสด ผลแห้ง การแช่อิ่ม
ข้อแนะนำ :
มะยมเป็นพันธุ์ไม้ที่มีใบร่วงมาก ในพื้นที่ที่ต้องการความสะอาดมากจึงไม่ควรปลูก
ข้อมูลอื่นๆ :
ราก รสจืด แก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง ประดง ดับพิษเสมหะ
เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง
การทำมะยมเชื่อม ดูที่  
มีความเชื่อว่า มะยมเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกันความถ่อย และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้คนจะได้นิยมเหมือนมีนะเมตตา มหานิยม
      




                                       ที่่มาของข้อมูล  http://www.blogger.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น